mnemomic: เทคนิค Method of Loci

คำแนะนำ
1. ถ้าเข้าใจเนื้อ หาส่วนนี้แล้ว สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาส่วนอื่นๆได้เลย
ไม่ต้องเสียเวลา
2. ถ้าอยากทำแบบฝึกหัดเทคนิคนี้ให้ไปที่ http://kwamjum.blogspot.com/2011/09/method-of-loci.html

3. การอ่านหัวข้อเทคนิคต่างๆนี้  ยังไม่ต้องท่องจำอะไรทั้งสิ้น แค่ให้รู้ว่ามันทำงานอย่างไร หลังจากนั้นค่อยฝึกในภาคปฏิบัติครับ
ตอนนี้ก็อ่านไปแบบขำๆ รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างไม่เป็นไรครับ

หลักการ
Method of Loci เรียกอีกอย่างว่า Memory Palace (และอีกหลายชื่อ เช่น Journey, Roman room) คำว่า Loci เป็นภาษา Latin หมายถึง Location หรือ Place ซึ่งหลักการนี้ก็คล้ายๆ Peg system เพียงแต่ Peg ที่สร้างขึ้นเป็นสถานที่ ซึ่งอาจเป็นสถานที่จริงหรือสมมติขึ้นมาก็ได้ (แนะนำว่าควรเป็นสถานที่จริงที่เราคุ้นเคยและจดจำได้อยู่แล้ว)


1. เิริ่มต้นจากสร้างสถานที่ในใจขึ้นมาและจำให้ได้จนขึ้นใจ
2. จากนั้นก็ทำการเชื่อมโยงสิ่งของที่จะจำ เข้ากับสถานที่นั้นๆ

ตัวอย่างเช่น เราอาจสร้างสถานที่ของเราโดยใช้ห้องในบ้าน โดยเรียงลำดับจากชั้นล่าง ไปชั้นบน และแต่ละชั้นให้เรียงทิศทางวนซ้ายหรือขวาแล้วแต่ถนัด ลองนึกถึงบ้านตัวเองดูครับ

เช่น ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องอาหาร ห้องครัว ห้องนอน ห้องเก็บของ ฯลฯ

หรือ อาจจะเป็นสถานที่แถวบ้าน
เช่น จากปากซอยมาถึงบ้านของเรา ต้องเดินผ่านร้านแว่นตา ร้านข้าวหมูแดง ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้ายขายผัก ร้านเช่าหนังสือ ร้านไอติม ร้านตัดผม เซเว่น ฯลฯ

จากนั้นก็ผูกรายการสิ่งของที่จะจำเข้ากับสถานที่ต่างๆที่เรามีอยู่  ก็คล้ายๆกับการสร้างเรื่องราวใน เทคนิค Link System แต่เรื่องราวไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน ขอให้ในจินตนาการของเราเห็นภาพสิ่งของที่ต้องการจำในสถานที่นั้นๆให้ชัดแจ่ม ก็จะช่วยให้เราจำได้ง่ายขึ้นครับ


สรุป
1. เป็นวิธีการสร้าง Peg ที่จดจำได้ง่าย เนื่องจากสถานที่ต่างๆสร้างขึ้นมาจากของจริง แต่ไม่มีการจำเลขลำดับของสถานที่ ซึ่งนำมาซึ่งปัญหาในข้อ 2 ที่ำกำลังจะกล่้าวถึง
2. เนื่องจากไม่มีเลขลำดับประจำสถานที่ ดังนั้นวิธีนี้จึงไม่เหมาะกับการนำไปจำสิ่งของหรือเรื่องราวที่ "ลำดับ" มีความสำคัญ เช่นถามว่า สิ่งของหรือคนที่อยู่ลำดับที่ 50 คืออะไร ถ้าใช้ Method of Loci ก็จะตอบยากเนื่องจากต้องไล่เรียงมาจากสถานที่แรกจึงจะรู้ว่าลำดับที่ 50 คืออะไร 

วิธีแก้อาจสร้างจุดพักในจินตนาการเป็นช่วงๆทุกสิบสถานที่ เพื่อให้การเข้าถึงตำแหน่งต่างๆได้รวดเร็วมากขึ้น
3. เป็นวิธีการที่นำไปใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ใช้เรียนภาษาต่างประเทศ  ใช้จำเนื้อหาที่ต้องทำการเสนอทั้งในเรื่องเรียนและการประชุม

4. เป็นวิธีการที่ World Memory Champion 8 สมัย อย่าง Dominic O'Brien ใช้ในการจำหน้าไพ่ 54 สำรับ โดยการดูเพียงครั้งเีดียว

No comments:

Post a Comment