mnemomic: เทคนิค Peg System

คำแนะนำ
1. ถ้าเข้าใจเนื้อหาส่วนนี้แล้ว สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาส่วนอื่นๆได้เลย
ไม่ต้องเสียเวลา
2. ถ้าอยากทำแบบฝึกหัดเทคนิคนี้ให้ไปที่ http://kwamjum.blogspot.com/2011/09/peg-system.html

3. ข้อย้ำอีกครั้งว่า การอ่านหัวข้อเทคนิคต่างๆนี้ ยังไม่ต้องท่องจำอะไรทั้งสิ้น แค่ให้รู้ว่ามันทำงานอย่างไร หลังจากนั้นค่อยฝึกในภาคปฏิบัติครับ
ตอนนี้ก็อ่านไปแบบขำๆ รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างไม่เป็นไรครับ


หลักการ

Peg System ก็มีความหมายตรงไปตรงมาคือ หมุดสำหรับแขวนสิ่งที่ต้องการจำ หลักการของ Peg System ก็คือเราต้องสร้าง Peg ขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ทำการแขวนสิ่งที่ต้องการจำเข้ากับ Peg แต่ละอัน เช่น Peg ของเราคือ


- สร้าง Peg โดยดูพิจารณจากรูปร่างหรือการเชื่อมโยง Peg กับ "ตัวเลข"
เลข 1 แทนด้วย  ดินสอ (เป็นแท่งเหมือนเลขหนึ่ง)
เลข 2 แทนด้วย หงส์ (นึกถึงคอหงส์เหมือนเลขสอง)
เลข 3 แทนด้วย สามง่าม (สามง่ามที่เป็นอาวุธของปิศาจ)
เลข 4 แทนด้วย หนังสือพิมพ์ (สี่ทิศ NEWS หมายถึงข่าวสาร โยงถึงหนังสือพิมพ์)
เลข 5 แทนด้วย ดาว (นึกถึงโรงแรมห้าดาว)

และสิ่งที่ต้องการจำคือ 1 รถยนต์, 2 ลูกบอล, 3 ช้าง, 4 เพื่อนของเราคนหนึ่ง, 5 ไม้แขวนเสื้อ
ซึ่งวิธีการสร้าง Peg นั้น โดยหลักการเบื้องต้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่เราคุ้นเคยและสามารถจดจำได้ หรือเราอาจจะใช้ Method of Loci, Major System สร้าง Peg ของเราขึ้นมาก็ได้

จากนั้นทำการสร้างภาพเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ต้่องการจำเข้ากับหมุด (ซึ่งก็คือการนำ Link System มาใช้) จะเห็นว่าข้อดีของวิธีนี้นอกเหนือจากจำสิ่งของต่างๆได้ ยังสามารถเรียงลำดับและบอกสิ่งของจากลำดับได้ด้วย

เช่น จินตนาการว่า เราตื่นขึ้นมาแล้วจะแขวนชุดนอน แต่หาไม้แขวนไม่เจอ ดันไปเจอว่าไม้แขวนถูกแขวนอยู่บนดวงดาว (ไม้แขวนอยู่กับดาว) เราก็ต้องบินขึ้นไป (ให้นึกภาพตาม) บินไปเหมือนซุปเปอร์แมน พอบินไปเข้าใกล้ดวงดาวก็เจอด่านตรวจ หน้าตาเป็นช้างถือสามง่าม (ช้างอยู่กับสามง่าม) ผ่านนายด่านเสร็จก็เลยแวะไปเดินเล่นสวนสาธารณะ เจอหงส์ในสวน กำลังมองเพลินๆ ก็มีลูกบอลลอยมาชนหงส์ตัวนั้นคอหักเลือดสีแดงเถือกสาดกระเซ็น (ลูกบอลกับหงส์) เราทนเห็นภาพไม่ไหวเลยเดินไปที่อื่นเจอแผงขายหนังสือพิมพ์ ซื้อมาอ่าน เจอรูปเพื่อนในพาดหัวหน้าหนึ่งเนื่องจากกินอาหารไม่ยอมจ่ายตังค์เลยโดนจับ (เพื่อนกับหนังสือพิมพ์) ฮา สมน้ำหน้ามัน  เดินนานเริ่มเมื่อย อยากกลับบ้านเลยจะไปหาเช่ารถยนต์ขับกลับบ้าน ก่อนให้เช่าต้องเซ็นต์เอกสารการเช่า ไม่มีปากกา เจ้าของรถเลยเอาดินสอลายคิกขุโนเนะมาให้เซ็นต์ (รถยนต์กับดินสอ)

เรื่องข้างบนก็จะทำให้เราจำรายการที่ต้องจำ พร้อมบอกลำดับได้ด้วยว่าอะไรอยู่ลำดับใด เช่นถามว่ารถยนต์อยู่ลำดับใด ก็จะนึกถึงดินสอในเรื่อง ซึ่งดินสอก็คือ Peg ลำดับที่หนึ่งของเรา
หลักในการสร้าง Peg System ก็อย่างที่บอกข้างต้นครับ เป็นอะไรก็ได้ที่เราจำง่าย หรืออาจสร้างด้วยหลักดังต่อไปนี้

- สร้าง Peg โดยใช้ Method of Loci ซึ่งก็คือสิ่งของหรือสถานที่ที่เราคุ้นเคย เช่น ห้องต่างๆในบ้านของเรา รายการของใช้ส่วนตัว อวัยวะร่างกาย สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น
- Method of Loci เป็นอีกเทคนิคความจำ คล้ายกับ Peg เพียงแต่ใช้สถานที่ที่เราคุ้นเคยมาทำ Peg รายละเอียดของ Loci
จะได้กล่าวถึงต่อไป
ดู ตัวอย่าง Peg ที่สร้างโดย Method of Loci

- สร้าง Peg โดยใช้ Major System เป็นอีกเทคนิคความจำ ที่นำมาสามารถสร้าง Peg ได้ โดนหลักคร่าวๆคือ ทำการแปลงตัวเลข ให้เป็นตัวอักษร แล้วสร้างคำที่มีความหมายจากตัวอักษรนั้น รายละเอียดจะได้กล่าวถึงต่อไปครับ ตอนนี้ขอยกตัวอย่างง่ายๆก่อนครับ เช่น

0 แทนด้วยตัว Z, S ฉะนั้น Peg ก็อาจจะเป็น Sea
1 แทนด้วยตัว T ฉะนั้น Peg ก็อาจจะเป็น Tea
2 แทนด้วยตัว n ฉะนั้น Peg ก็อาจจะเป็น wiNe
3 แทนด้วยตัว m ฉะนั้น Peg ก็อาจจะเป็น Ma
...
9 แทนด้วยตัว J, G ฉะนั้น Peg ก็อาจจะเป็น Gay
ดู  Peg ที่สร้างจาก Major System

สรุป
1. วิธีนี้ช่วยจำสิ่งของ พร้อมเรียงลำดับ และบอกลำดับได้

2. Peg สร้างจากอะไรก็ได้ที่เราคุ้นเคยและจำได้ หรืออาจใช้ Method of Loci, Major System และอื่นๆ ช่วยในการสร้าง
3. (การนำไปใช้ขั้นสูง เปรียบเทียบ) หากมีเรื่องที่ต้องจำหลายเรื่อง เช่น รายการสิ่งของที่ต้องซื้อ รายการกิจกรรมที่ต้องทำวัีนอังคาร รายการงานที่ต้องส่ง จะเกิดปัญหาขึ้นได้เนื่องจากจำนวนสิ่งของผูกเข้ากับ Peg เยอะเกินไป ทำให้สับสน วิธีปรับปรุงก็คือควรจะมี Peg หลายๆอัน เช่น Peg สำหรับวันจันทร์ (ใช้ห้องต่างๆในบ้าน), Peg สำหรับเรื่องเรียน (สถานที่ต่างๆในโรงเรียน), Peg สำหรับการบ้าน, Peg สำหรับเรื่องนัดหมาย ฯลฯ

No comments:

Post a Comment